ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
กลุ่มบริษัทตั้งปณิธาน "เติมพลังก้าวหน้า นำพาโลกยั่งยืน" แสดงถึงความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอกด้วยการให้ความสำคัญด้านการพัฒนาบุคลากรทั้งกลุ่มบริษัท พร้อมส่งมอบคุณค่าจากกิจการใน 3 กลุ่มธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุลสู่เป้าหมายการเติมพลังและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อโลก สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจการบิน (Aviation) 2. กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน (Utilities & Power) และ 3. กลุ่มบริการธุรกิจ (Business Solution & Services) โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทครอบคลุมประเด็นด้าน "ESG" หรือสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance) เพื่อส่งมอบคุณค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มธุรกิจ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกระบวนการที่ทำให้องค์กรรับทราบถึงความคิดเห็น ข้อกังวล และทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อบริษัท และใช้ข้อมูลนี้เพื่อจัดทำแผนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม นำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบ โดยการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาตามปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทในกลุ่มอาจมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน รวมถึงมีมุมมอง ความคาดหวังที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม แต่ละบริษัทสามารถนำหลักการที่ระบุไว้ในคู่มือการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มบริษัทไปปรับใช้และอ้างอิงตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละบริษัท ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้พิจารณาจัดกลุ่มและกำหนดพันธกิจที่มีต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแนวทางเดียวกันโดยมีกระบวนการดำเนินงานตามแผนภาพ
โดยกลุ่มบริษัทพิจารณาทบทวนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 7 กลุ่ม และระบุพันธกิจไว้ โดยจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้องค์กรรับทราบถึงความคิดเห็น ข้อกังวล และทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อจัดทำแผนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถรายงานประเด็นและข้อกังวลที่สำคัญในรายงานความยั่งยืนได้อย่างครบถ้วน โดยการจัดทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้นำมาซึ่งการระบุและจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญ (Materiality Topics - ESG) ต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งนำหลักการบริหารความเสี่ยงและการสร้างโอกาสมาบริหารจัดการประเด็นที่มีความสำคัญ เพื่อส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อการยอมรับในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทอย่างยั่งยืน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ