top of page
EBG.jpg

ENVIRONMENT 

Road to Net Zero

เพื่อตอบสนองต่อปณิธาน เติมพลังก้าวหน้า นำพาโลกยั่งยืน  บริษัทจึงมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างสมดุล มุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระยะยาว

 

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ดังนั้นจึงเกิดความร่วมมือของประชาคมโลกเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาภายใต้ความตกลงปารีส ซึ่งเป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งประเทศไทยได้มอบสัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคี โดยปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศนี้ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการประกาศแผนแม่บทการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจการในระยะยาวของกลุ่มบริษัท

NET.png
Z.png

Zero Emission

เพื่อตอบสนองต่อปณิธาน “เติมพลังก้าวหน้า นำพาโลกยั่งยืน” ในด้านการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทจึงกำหนดเป้าหมายการเป็นบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี 2593 เพื่อมุ่งมั่นในการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ผ่านกลยุทธ์ “ZERO”

Z1.png
CALO1.jpg

องค์กรผู้นำ

ด้านก๊าซเรือนกระจก (CALO)

ปี 2566 บริษัทเป็น 1 ใน 15 องค์กรที่มีผลการประเมินโดดเด่นด้านการดำเนินงาน การตรวจวัด การลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจการ อยู่ในระดับ 2 เหรียญทองและ 1 เหรียญเงิน

P.19-SET.jpg

โครงการต้นแบบการบริหารจัดการ ด้านสภาพภูมิอากาศ

BAFS เป็น 1 ใน 9 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในการเป็นองค์กรต้นแบบด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก 

E.png

Energy Transition

มุ่งมั่นการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด กำหนดเป้าหมาย ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในองค์กร ร้อยละ 30 ภายในปี 2573

โครงการติดตั้ง Solar Rooftop

พื้นที่ดอนเมือง

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้รวมทั้งสิ้น 287 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือคิดเป็น 2,015 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าตลอดระยะเวลาโครงการ

R.png

Response to nature

and low carbon society

มุ่งมั่นลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว

334.jpg

โครงการขยะพลาสติก YOUเทิร์น 

ปี 2566 ปริมาณขยะพลาสติกที่ส่งเข้าสู่กระบวนการ Upcycling 140 กิโลกรัม เทียบเท่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ใหญ่จำนวน 15 ต้น

WER.jpg

โครงการกระดาษรีไซเคิล SCGP 

ปริมาณกระดาษที่ส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลร่วมกับโครงการ SCGP recycle ในปี 2566 มีจำนวนทั้งหมด 330 กิโลกรัม เทียบเท่าการลดการตัดต้นไม้ใหญ่จำนวน 6 ต้น

Resize-Bangchak-3.jpg

โครงการทอดไม่ทิ้ง

ร่วมมือกับบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด สนับสนุนให้พนักงานนำเอาน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมารวมกันที่จุดรับฝากที่บริษัทกำหนดหรือนำไปขายที่สถานีบริการบางจาก เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันเครื่องบินหรือเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF)

TYR.jpg

โครงการขยะเศษอาหารส่งต่อให้กับ
โครงการ “Farm Hug by BAFS Group”

ปี 2566 ได้ปุ๋ยจากกระบวนการย่อยขยะเศษอาหาร รวมทั้งสิ้น 72 กิโลกรัม โดยนำส่งให้กับโครงการ “Farm Hug by BAFS Group” เพื่อนำไปปลูกผักปลอดสารพิษต่อไป 

O.png

Opportunity for green investment

ลงทุนในธุรกิจสีเขียว หรือการลงทุนในธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อส่งเสริมการพัฒนาให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

cabon pix14.jpg

โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

บาฟส์ร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมถ์ในการดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระยะที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนากลไกคาร์บอนเครดิตและเพิ่มการกักเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากการดูแลรักษาป่าชุมชน อีกทั้งสามารถนำคาร์บอนเครดิตจากโครงการฯ มาต่อยอดสู่การเป็นองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ด้วยความร่วมมือ
ครั้งนี้บริษัทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถช่วยรักษาผืนป่าและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศให้ยังคงมีความยั่งยืนและสมบูรณ์สืบไป

Solar farm2.jpg

โครงการโซลาร์ฟาร์ม 

บริษัท บาฟส์ คลีน เอนเนอร์ยี่ คอร์เปอเรชั่น จํากัด ขยายการลงทุนกิจการโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังผลิต 30 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 60 เมกะวัตต์ ในปี 2567

xPTplhdrKRbdWkwwxGz8.jpg

โครงการผลิตรถเติมน้ำมันอากาศยาน EV ระบบ High Flow

บริษัท บาฟส์ อินเทค เปิดตัวรถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า EV Hydrant Dispenser แบบ “High Flow” คันแรกของอาเซียน ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์

aerial-view-vast-expanse-water.jpg

การบริหารจัดการน้ำ

น้ำเป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต แม้ว่าลักษณะธุรกิจการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานจะไม่มีการใช้น้ำในการดำเนินธุรกิจหลัก แต่ BAFS ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยบริษัทได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน ซึ่งครอบคลุมถึงพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา เพื่อบริหารจัดการการใช้น้ำประปาจากการประปานครหลวง (MWA) และการปล่อยน้ำเสียของบริษัท  พร้อมกันนี้ คณะทำงานฯ ได้กำหนดเป้าหมายลดการใช้ทรัพยากรน้ำประปาจากการประปานครหลวงอย่างน้อยร้อยละ 10 ภายในปี 2573 เทียบกับปีฐาน ปี 2566

 

โครงการจัดการปล่อยน้ำทิ้งสู่สาธารณะเป็นศูนย์

โครงการมีแนวทางรวบรวมน้ำทิ้งจากการใช้อุปโภคในอาคารสำนักงานนำไปกักเก็บที่อาคารบ่อพักน้ำ แล้วทำการบำบัดด้วยวิธีการทางธรรมชาติและใช้ระบบดึงน้ำกลับไปใช้ในการรดน้ำต้นไม้และโครงการผักปลอดสารพิษ Farm Hug by BAFS Group ซึ่งใช้ทดแทนการใช้น้ำประปาสำหรับการรดน้ำต้นไม้ได้ร้อยละ 100

ตัวอย่างกระบวนการทำงานของระบบการนำน้ำจากบ่อพักน้ำไหลวนกลับไปใช้ซ้ำในกระบวนการได้หลายรอบ (Recycling)

ระบบสูบน้ำ Recycling โดยใช้พลังงานจากชุดโซลาร์เซลล์ ที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ

ระบบสูบน้ำ Recycling  ที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานดอนเมือง

สัดส่วนการใช้น้ำปี 2566 ของสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ

สัดส่วนการใช้น้ำปี 2566 ของสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานดอนเมือง

n3.png
n5.png
bottom of page