top of page
REE.png

โครงการที่สนับสนุนเป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทดำเนินโครงการที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เกษตรอินทรีย์บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเติมเต็มชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม ร่วมกับพื้นที่ชุมชนข้างเคียงหรือพื้นที่โดยรอบสถานประกอบกิจการของกลุ่มบริษัทเป็นหลักเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมในชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น สามารถพึ่งพากันอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยการดำเนินงานในปี 2566 มีโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาจากปี 2565 จำนวน 3 โครงการ และเป็นโครงการริเริ่มใหม่ 1 โครงการ ดังนี้

โครงการจัดการคาร์บอนเครดิต ในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

บาฟส์เป็น 1 ใน 14 องค์กรในภาคีเครือข่ายภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปภัมภ์ ทั้งนี้มีพื้นที่ป่าชุมชนที่ผ่านการประเมิน จำนวน 75 แห่ง รวม 143,599 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ยโสธรและอำนาจเจริญ โดยบริษัทได้ร่วมสนับสนุนการลงทุนสำหรับการดำเนินโครงการในพื้นที่ป่าชุมชนเป็นจำนวน 5,000 ไร่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาผืนป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง ส่งเสริมศักยภาพการดูแลป่าของชุมชนที่สมบูรณ์อยู่แล้วให้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้ง
สนับสนุนให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง และอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน และมีชุมชนผู้รับผลประโยชน์จากโครงการฯ กว่า 75 หมู่บ้าน 12,307 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 37,647 คน ซึ่งชุมชนจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนของภาคเอกชนผ่านการจัดตั้งกองทุนดูแลป่า และกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งชุมชนที่ได้เข้าร่วมได้จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อดำเนินกิจกรรมดูแลป่าชุมชน เช่น โครงการสร้างแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ และโครงการปลูกป่าเสริม เป็นต้น และภาคเอกชนที่สนับสนุนงบประมาณจะได้รับปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จากโครงการต่าง ๆ กลับคืน

 

และในปี 2566 นี้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้เริ่มดำเนินการโครงการในระยะ 3 และผลักดันการดำเนินโครงการฯ จนได้ขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งมีพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER นี้ครอบคลุมพื้นที่ป่าชุมชน 96,546 ไร่ ทั้งนี้ โดยบริษัทมีเป้าหมายในการต่อยอดในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

สามารถอ่านรายเอียดโครงการฯ เพิ่มเติมได้จากรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2566

ประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ

สามารถอ่านรายเอียดโครงการฯ เพิ่มเติมได้จากรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2566

ป่าชุมชนได้รับการดูแลให้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกและผ่านระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน (คาร์บอนเครดิต)

ชุมชนมีรายได้ในการเลี้ยงชีพและตระหนักถึงความสำคัญของป่าชุมชน พร้อมทั้งมีทรัพยากรในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนงบประมาณได้รับคาร์บอนเครดิตกลับคืน

FARM HUG BY BAFS GROUP

โครงการเพาะปลูกผักสลัดและพืชผักสวนครัว ด้วยการสร้างผลผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียนจากพื้นที่ของกลุ่มบริษัท โดยมุ่งเน้นการใช้วัสดุเพาะปลูกจากธรรมชาติ การหมักปุ๋ยวัสดุอินทรีย์จากขยะเศษอาหารและขยะเศษหญ้าเศษใบไม้ การนำน้ำทิ้งของสำนักงานมาบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติมาใช้ในโครงการเพื่อทำให้ต้นทุนในกระบวนการเพาะปลูกลดลง จากการหมุนเวียนวัสดุ เหลือทิ้ง-เหลือใช้ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ สร้างให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐานด้านเกษตรอินทรีย์ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางจากเมล็ดพันธุ์ จนถึงกระบวนการปลายทางการบรรจุและส่งมอบผลผลิตสู่ผู้บริโภค ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP)

กระบวนการนำเศษหญ้าและเศษใบไม้กลับมาใช้เพื่อหมักทำปุ๋ยหมักอินทรีย์

ผลลัพธ์ของโครงการ Farm Hug by BAFS Group

BAFS-129.jpg

โครงการแปลงนาข้าวอินทรีย์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ร่วมกับ กองทัพ ภาคที่ 3 จัดตั้งโครงการทหารพันธุ์ดี เพื่อส่งเสริมให้กำลังพลของกองทัพบกมีความรู้ความสามารถในการปลูกผักปลอดสารพิษที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อการบริโภค ลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริม เพื่อช่วยเหลือบุคลากรของกองทัพบกในด้านเศรษฐกิจ สังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้

 

ลุ่มบริษัทโดยบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกข้าวตามวิถีเดิมที่พึ่งพิงปุ๋ยเคมี หันมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากโครงการทหารพันธุ์ดี กองทัพภาคที่ 3 และมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกันถ่ายทอดความองค์รู้การเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ให้เกษตรกร บนพื้นที่แปลงนาของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ของตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร พื้นที่รวมจำนวน 193 ไร่

 

เริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2566 จนกระทั่งข้าวออกรวงสีทองเต็มแปลงและเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยได้ผลผลิตข้าวเปลือกจำนวน 58.1 ตัน และนำไปแปรรูปเป็นปริมาณข้าวสารหอมมะลิพร้อมรับประทานจำนวน 40,691 กิโลกรัม โดยกลุ่มบริษัทรับซื้อทั้งหมดเพื่อใช้ในกิจกรรมของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทได้ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นกับคลังน้ำมันจากการเผาซังข้าวจากการเพาะปลูกแบบเดิม ซึ่งอาจเกิดความเสียหายกับคลังน้ำมันทั้งหมด และส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และส่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง

ผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการแปลงนาข้าวอินทรีย์

Pro9.jpg
Pro10.jpg

โครงการพืชผักอินทรีย์

“ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย”

ตามที่กองทัพบก ได้ดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี (เกษตรอินทรีย์) ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรในการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและมีอาชีพเสริม พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรของกองทัพภาคที่ 3 และประชาชนในพื้นที่ในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง โดยนำองค์ความรู้ในการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์และการปลูกพืชผักสวนครัวมาถ่ายทอดให้กับประชาชนพื้นที่รอบคลังน้ำมันนครลำปาง เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างในการปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

 

กลุ่มบริษัทส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกร ครูและนักเรียนโรงเรียนสบปราบพิทยาคม อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เข้ามาใช้ประโยชน์บนพื้นที่ของบริษัท เพื่อเพาะปลูกพืชผักสวนครัวและผลไม้ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น อโวคาโด กาแฟ มะม่วงน้ำดอกไม้ และโรงเรือนเพาะเห็ดนางรมดำ เพื่อสร้างความหลากหลายของพืชพันธุ์ อีกทั้งส่งเสริมให้ชุมชนได้บริโภคผักและผลไม้ปลอดสารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการพืชผักอินทรีย์ 
“ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย”

Pro13.jpg
pro15.jpg

โครงการปลูกป่าเชิงนิเวศ Eco-Forest

กลุ่มบริษัทโดยบริษัท บาฟส์ คลีน เอนเนอร์ยี่ คอร์เปอเรชั่น ร่วมสร้างพื้นป่าในโครงการปลูกป่าเลียนแบบป่าธรรมชาติ (ECO-Forest) ด้วยการเพาะปลูกพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ทั้งไม้สูงยืนต้น ไม้กลาง ไม้ต่ำ และกำหนดแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้พื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ดี บนพื้นที่ 54 ไร่ บริเวณด้านข้างโรงไฟฟ้า ATEC 1 2 3 อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มบริษัทจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ “บาฟส์อาสา...เติมป่าเต็มสุข” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 กลุ่มบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ภายใต้ชื่องานปลูกป่านิเวศน์ “บาฟส์อาสา…เติมป่าเต็มสุข” โดยได้รับเกียรติจากคุณวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานในพิธี

ผลลัพธ์ของโครงการปลูกป่าเชิงนิเวศ

Pro16.jpg
bottom of page